ตักบาตรเติมบุญ รับรุ่งอรุณแห่งความสุข
ชมแสงแรกกลางสะพานบุญข้ามเกาะลอย วัดตระพังทอง สุโขทัย
Start the day with Giving
เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการให้
คณะมูลนิธิธรรมดี นำโดยดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย และคณะกัลยาณมิตร
เข้ากราบนมัสการ ได้รับความเมตตาจากพระมหาดำรงค์ สันตจิตโต เจ้าอาวาสวัดตระพังทอง
นำคณะสวดมนต์ ถวายเสียงเป็นพุทธบูชา
ถวายผ้าไตร ชุดหนังสือโครงการตามรอยพระยุคลบาท จำนวน 51 ชุด เพื่อวัดและโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย
ถวายถุงยังชีพ จำนวน 100 ชุด เพื่อส่งมอบให้ผู้นำชุมชน อสม
และคณะกรรมการบ้าน เพื่อเป็นสะพานบุญให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พร้อมฟังเทศนาธรรม และรับพร
และนำคณะห่มผ้าสีทอง เจดีย์ประธานทรงระฆัง
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะคะ
ขอให้ทุกท่านมีส่วนในบุญทั้งหมดนี้ด้วยกันโดยไม่มีประมาณเทอญ…สาธุ🙏
🌟 🌟 🌟 🌟 🌟
โครงการมอบหนังสือประวัติศาสตร์ ตามรอยพระยุคลบาท
ประจำปี 2565 แก่ 590 โรงเรียนๆ ละ 15,000 บาท
ยอดรวม 8,850,000 บาท (8.85 ล้านบาท)
โดยมูลนิธิธรรมดี ร่วมบุญ 5.9 ล้านบาท
มอบไปแล้ว 349 โรงเรียน
http://dmgbooks.com/home/?p=3251
เชิญร่วมบุญที่บัญชีมูลนิธิธรรมดี
ทอดผ้าป่าหนังสือดี สังคมดี
เลขที่ 772-2-31154-4
กสิกรไทย เซ็นทรัลเวิลด์
ยิ่งบอกต่อยิ่งได้บุญ
อนุโมทนาสาธุ
Facebook มูลนิธิธรรมดี
Official Line
🌟 🌟 🌟 🌟 🌟
วัดตระพังทองนี้ เป็นสถานที่เก่าแก่มีตำนานเล่าขาน ภูมิทัศน์สวยงาม และสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นผ่านโบราณสถาน ได้เห็นแสงแรกในมุมที่งดงามด้วย
วัดตระพังทอง ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุโขทัย
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองทางทิศตะวันออกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จ.สุโขทัย
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่เรียกว่า “ตระพังทอง” คติการสร้างวัดบนเกาะกลางน้ำ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากการเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
ซึ่งแพร่หลายในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี มีเจดีย์ประธานทรงระฆังที่ใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานส่วนด้านบนนั้นใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างรอบเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์รายล้องจำนวน 8 องค์
ในปี พ.ศ. 2444 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้เสด็จเยือนวัดแห่งนี้
และในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร) ได้เสด็จ ฯ เยือนเมืองสุโขทัย
พบซากปรักหักพังของเจดีย์รายจำนวน 8 องค์ แต่ในปัจจุบันไม่พบร่องรอยของเจดีย์รายเหล่านั้นแล้ว
มณฑปจัตุรมุข ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน เป็นมณฑปขนาดเล็ก ภายในมณฑปประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา จากหินสีเทาดำ
สร้างขึ้นสมัย พระมหาธรรมราชาลิไทเมื่อปี พ.ศ. 1902 โดยทรงให้จำลองแบบจากศรีลังกา และได้นำไปประดิษฐานไว้ที่เขาพระบาทใหญ่ (เขาสุมนกูฎ)
ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มณฑปจัตุรมุข ภายในรอยพระพุทธบาทนั้นจำหลักเป็นลายมงคลหนึ่งร้อยแปด และลายดอกจันโดยรอบ
พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ประธาน สร้างขึ้นด้วยการเรี่ยไรทรัพย์ชาวเมืองเพื่อสร้างพระอุโบสถ โดย พญารณชาญ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัย
ครั้งเมื่ออุปสมบทที่วัดแห่งนี้ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน ด้านหน้าเป็นมุขโถง ไม่มีเสาพาไลรองรับหลังคา หน้าบันไม้แบบลูกฟัก หลังคาทรงจั่วลด 2 ชั้น มีหางหงส์ปูนปั้นรูปมกร และใบเสมาหินชนวนคู่ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถ ภายนอกก่อเป็นกำแพงแก้ว
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาวนามว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นประธาน
รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรมุขด้านหน้าเจดีย์ประธาน
ซึ่งรอยพระพุทธบาทนั้น สร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ราวปี พ.ศ. 1902 จำหลักหินสีเทาดำเป็นลายมงคลหนึ่งร้อยแปด โดยจำลองแบบจากศรีลังกา
เดิมประดิษฐานอยู่ ณ ภูเขาทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย เรียกว่า เขาสุมนกูฎ ชื่อเดียวกับภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในลังกาทวีป
ปัจจุบันเรียกเขาลูกนี้ว่า เขาพระบาทใหญ่ ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดตระพังทองแห่งนี้
อนุสรณ์ตำนานพระร่วง ขอมดำดิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จ ฯ เยือนเมืองสุโขทัย และทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง”
ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงตำนานพระร่วงไว้ว่า
“…วัดมหาธาตุนี้ราษฎรนับถือกันว่าเป็นที่สำคัญนัก เพราะกล่าวว่าเป็นที่พระร่วง (นายส่วยน้ำ) ได้มาทรงผนวชอยู่ ยังมีสิ่งที่ชี้เป็นพยานกันอยู่ คือขอมดำดิน ซึ่งตามนิทานว่าดำดินมาแต่นครธม มาโผล่ขึ้นในลานวัดกลางเมืองสุโขทัยเพียงแค่อก
เห็นพระร่วงซึ่งผนวชเป็นภิกษุกวาดลานวัดอยู่ ขอมไม่รู้จักจึงถามหาพระร่วง พระร่วงก็บอกว่าให้ขอมคอยอยู่ก่อน จะไปตามพระร่วงมาให้ กายขุนขอมก็เลยกลายเป็นศิลาติดอยู่ที่ลานวัดนั้นเอง…” (ที่มา : Facebook มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6 )
🌟 🌟 🌟 🌟 🌟 🌟
ครั้งหนึ่งบนเส้นทางแห่งศรัทธา
ตามรอยเสด็จประพาสต้น ชุมทางศิลปะ
กรุงเทพ – กำเเพงเพชร – สุโขทัย – พิษณุโลก
ชื่นชมศิลปะวัฒนธรรม ราชธานีเเห่งเเรกของชาติไทย
✨มหัศจรรย์พระพุทธรูปพูดได้
📌เช็คอิน… ปล่อยปลา เกาะรูปหัวใจ ทุ่งทะเลหลวง
วันที่ 3-5 มิถุนายน 2565
Dhamdeetour.com